BACK TO EXPLORE

WORLD PUPPETS การแสดงหุ่นนานาชาติจาก 13 ประเทศทั่วโลก!

สนุกสนานไปกับเรื่องราวของการแสดงหุ่นอันทรงคุณค่า พร้อมชมนิทรรศการและร่วมเวิร์คช็อป ฟรี!

สยามพารากอนขอชวนทุกคนมาสนุกสนานไปกับเรื่องราวของการแสดงหุ่นนานาชาติอันทรงคุณค่าจาก 13 ประเทศทั่วโลก ฟรี!! ที่งาน  “SIAM PARAGON WORLD FASCINATING PUPPETS”

แต่ก่อนที่จะได้ตื่นตาตื่นใจไปกับศิลปะการแสดงหุ่นอันงดงามของแต่ละประเทศ ทั้งมาเลเซีย, ญี่ปุ่น, อินเดีย, สิงคโปร์, นิวซีแลนด์, ไทย, เกาหลี, ลาว, เมียนมา, เวียดนาม, กัมพูชา, ฟิลิปปินส์ และ สหรัฐอเมริกา

เราไปดูกันก่อนว่าแต่ละคณะมีความพิเศษยังไง แล้วแต่ละเรื่องนั้นมีไฮไลท์อะไรที่ไม่ควรพลาดกันบ้าง...

มาเลเซีย : ทีม FWK (FUSION WAYANG KULIT) กับการแสดงหุ่นที่สามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมเข้ากับวัฒนธรรมป๊อปในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว ด้วยการนำภาพยนตร์ชื่อดังอย่าง Star Wars มาเป็นแรงบันดาลใจ





ญี่ปุ่น :  หนึ่งในการแสดงหุ่นกระบอกญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่มีมานานกว่า  300  ปี โดยคณะละคร Ashiri-za หุ่นแต่ละตัวใช้ผู้ควบคุม 3 คน ในการบังคับส่วนหัว มือ และขา แต่พวกเขาจะต้องผสานและบังคับหุ่นให้เคลื่อนไหวอย่างราบรื่นและเป็นหนึ่งเดียวกัน





อินเดีย : Masti-Makers Human Puppets คณะนักแสดงหุ่นกระบอกมนุษย์จาก Pali Marwar (ราชสถาน) เป็นหุ่นสายที่ถูกควบคุมโดยเชือกเส้นเดียวจากด้านบนของหุ่น และเป็นหุ่นสายอินเดียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้รับรางวัลและจัดการแสดงมาแล้วมากมาย





สิงคโปร์ : คณะหุ่น  Paper Monkey Theatre ก่อตั้งโดย Benjamin Ho ผู้เชิดหุ่นและนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียงในสิงคโปร์ ตั้งอยู่ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติของ  Goodman Arts Centre ที่มีโรงละครและห้องประชุมเชิงปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยหุ่นสำหรับเด็กและความบันเทิงในครอบครัว





นิวซีแลนด์ : Anna Bailey ผู้ก่อตั้งและเป็นนักเชิดหุ่นจากคณะ String Bean Puppets  เธอเป็นเหมือนนักแสดงข้างถนนที่ทำการแสดงได้ทุกที่ และเปลี่ยนพื้นที่ต่างๆ ให้เป็นโลกที่น่ามหัศจรรย์ น่าประหลาดใจ พร้อมกับการสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับผู้ชม





ไทย : คณะหนังใหญ่วัดบ้านดอนมีอายุยาวนานกว่า  200 ปี โดยเจ้าเมืองระยองในสมัยนั้นได้ทราบกิตติศัพท์ของหนังใหญ่จากภาคใต้ชุดนี้จึงติดต่อเพื่อมาเป็นครูฝึกที่ระยอง โดยกล่าวกันว่าหนังใหญ่จากวัดบ้านดอนประมาณ 200 ตัวนี้มีลวดลายละเอียดงดงามมาก





เกาหลี : Kkachidong Theatre คณะละครที่สร้างกำลังใจแก่ผู้ชมโดยเฉพาะเด็กด้อยโอกาส  เรื่อง “ซุปถั่วแดงของคุณย่า” ถูกเลือกให้เป็นการแสดงที่ดีที่สุดจาก  Korean Arts Council  และได้รับรางวัลชนะเลิศในสาขาการแสดงยอดเยี่ยมสำหรับเด็กจากเทศกาลหุ่นโลกด้วย





ลาว : คณะหุ่นกะบองลาวจัดแสดงในแบบ Object Theatre ซึ่งเป็นการแสดงหุ่นร่วมสมัยโดยใช้วัสดุต่างๆ ในชีวิตประจำวันมาประกอบเป็นตัวหุ่น เพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสะท้อนวิถีชีวิตของชาวลาว





เมียนมา : Htwe Ooo MYANMAR คณะหุ่นที่ทำการแสดงหุ่นแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า “ยกเท” โดยเป็นการแสดงบนเวทียกระดับ ผู้เชิดหุ่นจะอยู่หลังฉากหลังซึ่งสูงระดับเอว เชิดตัวหุ่นซึ่งอยู่ด้านหน้าฉากจากด้านบน และมีเพลง บทสนทนา และดนตรีประกอบการแสดง





เวียดนาม : โรงละครหุ่นของเวียดนามเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแสดงหุ่นที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยการอนุรักษ์และพัฒนางานศิลปะแบบดั้งเดิม โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และทำให้โรงละครหุ่นแห่งชาติและเวียดนามก้าวขึ้นเป็นหนึ่งบนเวทีโลกได้สำเร็จในช่วงหลายปีที่ผ่านมา





กัมพูชา : การแสดงของคณะละครในครั้งนี้ เป็นการแสดงหุ่นหนังเล็กที่เรียกว่า สแบกตู๊จ (Sbek Toch) ซึ่งเป็นการแสดงหุ่นเงาโดยผู้เชิดจะเชิดตัวหนังแบบสองมิติจากด้านหลังฉาก แล้วขยับไม้เชิดที่ยึดกับหัวและแขนขาของหุ่น ให้เคลื่อนไหวไปตามท่าทางในเรื่อง





ฟิลิปปินส์ : หุ่นเชิดมือ Lunaria Marionette Show-Philippines นำโดย Wanlu Lunaria นักเชิดหุ่นที่มีชื่อเสียงในฟิลิปปินส์และครอบครัว การแสดงของพวกเขาเป็นการรวมการร้องเพลง การเต้นรำของหุ่นสาย และการแสดงหุ่นชนิดพิเศษต่างๆ โดยได้แรงบันดาลใจจากนักเชิดหุ่นในอาเซียน





สหรัฐอเมริกา : Wonder Spark Puppets ก่อตั้งโดย Z. Briggs และ Chad Williams เป็นการแสดงหุ่นมือแบบยุโรปดั้งเดิมโดยใช้หุ่นมือแบบไม่เปิดปาก แล้วแสดงบนโต๊ะเล็กๆ ในสไตล์ 'Punch & Judy' ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมในนครนิวยอร์กซิตี้มานานนับ 10 ปี





แล้วอย่าลืมมาสัมผัสความงดงามของศิลปะวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สืบทอดกันมาช้านาน ผ่านเรื่องราวการแสดงหุ่นจากนานาประเทศในงาน  “SIAM PARAGON WORLD FASCINATING PUPPETS” พร้อมชมนิทรรศการและร่วมเวิร์คช็อปการทำหุ่นจากประเทศต่างๆ  โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น!

31 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2562 ณ แฟชั่น ฮอลล์ ชั้น 1 สยามพารากอน

ดูรอบตารางการแสดงและกิจกรรมเวิร์คช็อปได้ที่ คลิก